เมนู

แห่งทุติยฌานอันเป็นของวิเศษ ด้วยสามารถแห่งสัญญามนสิการทั้งหลาย อัน
เข้าไปเพ่งซึ่งทุติยฌานอันมีในเบื้องบนแห่งปฐมฌานนั้น.
คำว่า นิพฺพทาสหคตา (แปลว่า สหรคตด้วยนิพพิทาญาณ) ได้แก่
บุคคลผู้ได้ปฐมฌานนั้นออกจากฌานแล้ว สหรคตด้วยวิปัสสนาญาณกล่าวว่า
นิพพิทา จริงอยู่ครั้นเมื่อการแตกไปแห่งองค์ของฌาณกำลังเป็นไป วิปัสสนา
ญาณ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมเดือดร้อน เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า นิพพิทา-
ญาณ ดังนี้. คำว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ ย่อมเดือดร้อน ย่อมรบกวน
เพื่อต้องการกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน. คำว่า วิราคูปสญฺหิตา (แปลว่า
ประกอบด้วยวิราคะ) ได้แก่ ประกอบด้วยพระนิพพาน กล่าวคือ วิราคะ
จริงอยู่ วิปัสสนาญาณ อันมรรคนี้สามารถทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานคือ วิราคะ
เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า ประกอบด้วยวิราคะ เพราะความเป็นไป. แม้
สัญญามนสิการอันสัมปยุตด้วยวิราคะนั้น ก็ชื่อว่า ประกอบด้วยวิราคะนั่นแหละ
ว่าด้วยอำนาจแห่งสัญญามนสิการทั้งหลายของวิปัสสนานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า นิพเพธภาคินี เพราะความเป็นปทัฏฐาน (คือ เป็นเหตุเกิดขึ้น)
แห่งการแทงตลอดในฐานะทั้ง 4 ด้วยประการฉะนี้. แม้ปัญญาในทุติยฌาน
เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ โดยนัยนี้แหละ.

อธิบายปฏิปทาปัญญา 4


คำว่า กิจฺเฉน กสิเรน สมาธึ อุปฺปาเทนฺตสฺส (แปลว่า ผู้ยัง
สมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก) ได้แก่ ผู้ยังโลกุตตรสมาธิให้เกิดขึ้น ลำบาก
อยู่ด้วยสัมปโยคะอันเป็นไปกับสังขาร ยาก ลำบาก เป็นทุกข์ คือว่า ข่มกิเลส
ทั้งหลายแล้วมาถึงได้โดยยากลำบากเป็นทุกข์ในกาลที่เข้าถึงบุพภาค. คำว่า

ทนฺธํ ตณฺฐานํ อภิชานนฺตสฺส (แปลว่า รู้ฐานะนั้นก็ช้า) อธิบายว่า ใน
การอาศัยวิปัสสนาในกิเลสทั้งหลายที่ตนข่มไว้แล้วสิ้นกาลนาน จึงรู้ จึงบรรลุ
จึงถึงฐานะ กล่าวคือโลกุตตรสมาธินั้นช้า ค่อย ๆ เป็นไป. คำว่า อยํ วุจฺจติ
(แปลว่า นี้เรียกว่า) ได้แก่ ปัญญานี้ใด ย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ คือ
ปัญญานี้แม้เกิดขึ้นแล้วในขณะแห่งจิคดวงหนึ่งในกาลแห่งมรรค เพราะความ
ที่ปฏิปทาซึ่งข่มกิเลสได้โดยยาก และเพราะความที่ปัญญาที่อาศัยอยู่ในวิปัสสนา
ดำเนินไปช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
(ปฏิบัติลำบากตรัสรู้ได้ช้า) ด้วยสามารถแห่งการบรรลุ ดังนี้. แม้ในบททั้ง 3
ข้างหน้าบัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ.

อธิบายอารัมมณปัญญา 4


คำว่า สมาธิสฺส น นิกามลาภิสฺส (แปลว่า พระโยคาวจร ผู้ได้
สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว) ได้แก่ พระโยคาวจรใด ไม่ได้สมาธิตามความ
ต้องการ พระโยคาวจรนั้น ชื่อว่า ได้สมาธินั้นยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว. อธิบายว่า
สมาธิของบุคคลใด ไม่เป็นปัจจัยเพื่อความพยายาม คือ เพื่อประโยชน์ในการ
เข้าสมาธิในเบื้องบน ๆ สมาธิของบุคคลนั้นมีปกติในฌานอันมีคุณน้อย. คำว่า
อารมฺมณํ โถกํ ผรนฺตสฺส (แปลว่า แผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย) อธิบายว่า
อารมณ์นั้น ชื่อว่า ไม่เจริญแล้ว เพราะทำบริกรรมในปริตตารมณ์มีประมาณ
เท่ากระด้งหรือถ้วยเป็นประมาณ (หมายถึงนิมิต) แล้วบรรลุอัปปนาในอารมณ์
นั้นนั่นแหละ จึงชื่อว่า แผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย ดังนี้. ในบทที่เหลือทั้งหลาย
ก็นัยนี้. จริงอยู่ พระโยคาวจรผู้ได้ฌานอันคล่องแคล่ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ชื่อว่า ผู้ได้สมาธิอันชำนาญคล่องแคล่ว ดังนี้ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อ